วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นักเทคโนโลยีอวกาศ


          

คอนสแตนติน ไซคอฟสกี
Konstantin Tsiolkovsky
(ค.ศ. 1857 – 1935)

      คอนสแตนติน ไซคอฟสกีเป็นผู้บุกเบิกด้านการบินอวกาศก่อนผู้อื่นเป็นเวลานับทศวรรษจนได้ รับสมญานามว่าเป็น "เจ้าแห่งจรวดของรัสเซียและอดีตสหภาพโซเวียต" ทั้งนี้ผลงานของไซคอฟสกีมีส่วนสำคัญในการพัฒนาโครงการอวกาศในยุคเริ่มต้น ของอดีตสหภาพโซเวียต รวมไปถึงได้จุดประกายความสนใจให้กับวิศวกรรุ่นใหม่ ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนาโครงการอวกาศของอดีตสหภาพ โซเวียต เช่น เซอร์ไก โคโรเลฟ (Sergei Korolev) และ วาเลนติน กลัสซ์โค (Valentin Glushko)
    ผลงานของไซคอฟสกีได้มีอิทธิพลอย่างสูงต่อนักวิศวกรรุ่นหลัง ได้แก่ เซอร์ไก โคโรเลฟ วาเลนติน กลัสซ์โค อิกอร์ เมอร์คูลอฟ อเล็กซานเดอร์ โพลยาร์นี และอื่นๆ ผู้ซึ่งได้วางรากฐานสำหรับกิจการด้านอวกาศของรัสเซีย สำหรับประเทศทางตะวันตกนั้น ผลงานของไซคอฟสกีไม่ได้บิดาแห่งจรวดยุคใหม่
เป็นที่รับทราบจนกระทั่งในช่วงทศวรรษ 1930
           

โรเบิร์ต ก็อดดาร์ด
Robert Goddard
(ค.ศ. 1882 – 1945)

บิดาแห่งจรวดยุคใหม่ผลงานสำคัญของโรเบิร์ต ก็อดดาร์ด
  1. ก็อดดาร์ดริเริ่มในเชิงปฏิบัติในการใช้จรวดเชื้อเพลิง เพื่อให้จรวดเดินทางได้สูงขึ้น (ปี 1912)
  2. ก็อดดาร์ดได้พิสูจน์ว่าจรวดทำงานได้ในสุญญากาศ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อากาศในการผลักดัน
  3. ก็อดดาร์ดพัฒนาและทดสอบยิงจรวดเชื้อเพลิงเหลว (16 มีนาคม 1926)
  4. ก็อดดาร์ดทดสอบยิงจรวดที่มีเพย์โหลดทางวิทยาศาสตร์ (ปี 1929)
  5. ก็อดดาร์ดนำลิ้นมาใช้ในมอเตอร์จุดระเบิดเพื่อการนำร่อง (ปี 1932)
  6. ก็อดดาร์ดพัฒนาไจโรเพื่อใช้ในการควบคุมการบินของจรวด (ปี 1932)
  7. ก็อดดาร์ดจดสิทธิบัตรในหลักการของจรวดหลายสเตจ (ปี 1914)
  8. ก็อดดาร์ดพัฒนาปั๊มที่เหมาะสำหรับจรวดเชื้อเพลิง
  9. ก็อดดาร์ดยิงจรวดที่มีมอเตอร์ที่ขึ้นอยู่กิมบอล (gimbal) ซึ่งอาศัยหลักการทำงานเชิงกลของไจโร (ปี 1937)
 

 

เฮอร์มันน์ โอเบิร์ซ
Hermann Oberth
(ค.ศ. 1894 – 1989)

 

        เฮอร์มันน์ โอเบิร์ซ เกิดที่ไซเบนเบอร์เกน ชายแดนระหว่างออสเตรียและฮังการี ซึ่งก็คือทรานซิลวา-เนีย แซกซอน หรือโรมาเนียในปัจจุบัน โอเบิร์ซเป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้วาง รากฐานด้านจรวดและการบินอวกาศของโลกในยุคบุกเบิก ร่วมกับคอนสแตนติน ไซคอฟสกี (รัสเซีย) และโรเบิร์ต ก็อดดาร์ด (อเมริกัน) ถึงแม้ทั้งสามท่านนี้ ไม่เคยทำงานร่วมกันหรือรับทราบว่าแต่ละคนกำลังทำเรื่องเดียวกันอยู่ แต่ผลงานของทั้งสามก็ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกันว่ามีความเป็นไปได้ที่เราจะใช้จรวด ในการหนีแรงโน้มถ่วงโลกเพื่อเดินทางไปในอวกาศ

เซอร์ไก โคโรเลฟ
Sergei Korolev
(ค.ศ. 1906 – 1966)

เซอร์ไก โคโรเลฟ ได้รับสมญานามว่าเป็น "บิดาแห่งความสำเร็จด้านอวกาศของอดีตสหภาพโซเวียต" โดยโคโรเลฟเป็นผู้ออกแบบจรวดวอสตอค ซึ่งเป็นจรวดยุคแรกของโครงการอวกาศของโซเวียต และ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการสปุคนิค ที่มีนักบินอวกาศเดินทางรอบโลกเป็นครั้งแรก จนมาถึงเป็นผู้ออกแบบจรวดโซยุซที่ใช้งานในปัจจุบัน รวมไปถึงการพัฒนาขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นแรกๆ ให้กับโซเวียต

        โคโรเลฟได้รับการศึกษาและฝึกฝนด้านการออกแบบเครื่องบิน แต่ด้วยทักษะและความสามารถในด้านการจัดการองค์กร และ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ทำให้โคโรเลฟได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าโครงการอวกาศของโซเวียต ทั้งนี้ก่อนที่จะเสียชีวิตลง โคโรเลฟได้รับการยกย่องว่าเป็น "หัวหน้าผู้ออกแบบ" (Chief Designer)

         เนื่องจากภาระหน้าที่ของโคโรเลฟมีความสำคัญต่อโครงการอวกาศของโซเวียตเป็น อย่างมาก ทำให้สหภาพโซเวียตต้องพยายามปกปิดความสำคัญของโคโรเลฟไว้ในขณะที่เขายังมี ชีวิตอยู่ แต่ต่อมาในภายหลัง ชื่อของโคโรเลฟได้ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะในฐานะผู้นำที่อยู่เบื้องหลังความ สำเร็จด้านอวกาศของโซเวียต

 

 

เวอร์นเฮอร์ ฟอน เบราน์
Wernher von Braun
(ค.ศ. 1912 – 1977)

เวอร์นเฮอร์ ฟอน เบราน์ นักฟิสิกส์และวิศกรจรวดชาวเยอรมัน เป็นหนึ่งในยอดนักเทคโนโลยีจรวดชั้นนำของโลกในยุคทศวรรษที่ 20 ทั้งนี้ ฟอน เบราน์ในวัยปลายยี่สิบถึงต้นสามสิบปีเป็นบุคคลสำคัญของเยอรมัน โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าทีมวิศวกรโครงการพัฒนาและสร้างจรวด V-2 อันเลื่องชื่อในช่วงสงครามโลกที่สอง ภายหลังสงครามสิ้นสุดลงในปี 1945 ฟอน เบราน์และบางส่วนของทีมงานเขาได้เข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกาในการพัฒนาจรวด เพื่อโครงการอวกาศและความมั่นคง สิบปีต่อมา ฟอน เบราน์ได้รับสัญชาติอเมริกันจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
       ในช่วงเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกา ฟอน เบราน์ ได้ทำงานในโปรแกรมพัฒนาขีปนาวุธข้ามทวีป ICBM (intercontinental ballistic missile) ต่อมาภายหลังได้เข้าร่วมทำงานกับนาซา โดยฟอน เบราน์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์การบินอวกาศมาร์แชลของนาซา ที่ฮันท์วิลล์ และเป็นหัวหน้าทีมออกแบบจรวดแซทเทิร์น วี (Saturn V) ที่นำยานอวกาศอพอลโลพร้อมนักบินอวกาศเดินทางไปยังดวงจันทร์
       ฟอน เบราน์ได้รับการยกย่องและเคารพว่าเป็น "บิดาของโปรแกรมด้านอวกาศของสหรัฐอเมริกา" (เหมือนกับ เซอร์ไก โคโรเลฟ ที่ได้รับสมญานามว่าเป็น "บิดาแห่งความสำเร็จด้านอวกาศของอดีตสหภาพโซเวียต") จากความสามารถและทักษะของฟอน เบราน์ทั้งในด้านเทคนิคและการจัดการ รวมไปถึงความทุ่มเทในการพัฒนาด้านการบินอวกาศและจรวด ทำให้ ฟอน เบราน์ได้รับเหรียญวิทยาศาสตร์แห่งชาติในปี 1975
เครดิต:http://www.learners.in.th/blogs/posts/338037

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น